Petra - Petra นิยาย Petra : Dek-D.com - Writer

    Petra

    อธิบายไม่ถูกถ้าอยากรู้!ก็ต้องเข้ามาดู

    ผู้เข้าชมรวม

    557

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    557

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  5 ก.พ. 50 / 18:35 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      Petra :ศิลานครที่โลกลืม

      เมื่อจักรพรรดิ Napoleon ยึดครองอียิปต์ได้ในปี พ.ศ. 2341 พระองค์ทรงให้นักวิชาการ (นักประวัติศาสตร์ ,นักโบราณคดี ฯลฯ) ศึกษาอารยธรรมอียิปต์ การรู้ขนบธรรมเนียมที่แปลกและแตกต่างจากอารยธรรมยุโรป ทำให้อียิปต์และดินแดนตะวันออกกลางกลายเป็นแหล่งผจญภัย และแสวงหาโชคลาภของนักเดินทางมากมาย และหนึ่งในบรรดานักผจญภัยนั้นคือ Johann Ludwig Burckhardt ชาวสวิสผู้ได้ปลอมตัวเป็นชาวอินเดีย (เพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง) ออกสำรวจแม่น้ำไนล์จนพบมหาวิหาร Rameses ที่ 2 ที่ Abu Simbel และได้เดินทางข้ามทะเลแดงไปซีเรียแล้วเดินทางต่อไปถึง Mecca ในเวลาต่อมา และได้เสียชีวิตที่นั่น

      ผลงานที่สำคัญชิ้นหนึ่งของ Burckhardt คือการได้พบศิลานครสีชมพูที่เมือง Petra ในประเทศจอร์แดนทางใต้ ซึ่งไม่มีชาวยุโรปใดได้พบเห็นมาก่อนเป็นเวลานานร่วม 1,000 ปี นครแห่งนี้เคยเป็นศูนย์กลางการค้าในสมัยโบราณ การถูกปิดล้อมด้วยภูเขาสูง โดยมีทางเข้าผ่านโตรกเขาแคบๆ ที่วกเวียนเป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร แต่ Burckhardt ก็ไม่สามารถใช้เวลาสำรวจตัวเมืองได้นาน เพราะเกรงว่าชาวอาหรับที่เป็นไกด์นำทางจะไม่พอใจที่ตนจะมาขโมยทรัพย์สมบัติของฟาโรห์ที่ซุกซ่อนในนครลับแลนี้ เขาจึงตัดสินใจเดินทางออกจากเมือง และก็ได้บันทึกเรื่องราวการพบเห็นศิลานคร Petra ในหนังสือชื่อ Travels in Syria and the Holy Land

      การได้อ่านหนังสือของ Burckhardt ทำให้นักท่องเที่ยวมากมายหลั่งไหลมาชมนครลึกลับ และทุกคนก็รู้สึกตื่นเต้นที่ได้เห็นอาคารหินที่เกิดจากการสกัดหินภูเขาเห็นถนนหนทาง วิหาร โรงละครกลางแจ้ง สุสานที่โอ่อ่าอลังการที่สูงถึง 35 เมตร จนกวี John Burgon ถึงกับประพันธ์คำบรรยายว่า Petra เป็น A rose-red city-half as old as Time คำถามที่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีใคร่รู้คำตอบคือ ใครเป็นผู้สร้างศิลานครนี้สร้างเมื่อใด และด้วยเหตุผลกลใด ชาวเมืองจึงทิ้งเมืองให้เป็นเมืองร้างมานานร่วม 1,000 ปี การศึกษาค้นคว้าในเวลาต่อมาทำให่เรารู้ว่า ชนเผ่า Nabataean (คำ คำนี้มาจากคำอาหรับ anbata ซึ่งแปลว่า ค้นหาน้ำ) เป็นผู้สร้างนครตั้งแต่สมัยคริสตกาล และการที่เรียกชื่อว่า พวกขุดค้นหาน้ำ เพราะเมืองนี้อยู่ลึกในหุบเขา ใกล้ทะเลทราย และมีฝนตกไม่เกินปีละ 2 เซนติเมตร

      ในคัมภีร์ไบเบิลก็มีการกล่าวถึงชนเผ่า Nabataean (แต่เรียกชื่อเพี้ยนเป็น Nabaioth) ว่าเป็นพวกเบดูอิน (bedouin) ที่ร่อนเร่อยู่ในทะเลทรายทางตอนเหนือของประเทศ Saudi Arabia และได้เดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจอร์แดนในราวปี พ.ศ. 230 หลังจากที่จักรพรรดิ Alexander มหาราชสิ้นพระชนม์ได้ประมาณ 10 ปี ในการอพยพเข้ามาของชนเผ่า Nabataean นั้น นักประวัติศาสตร์กรีกชื่อ Diodorus Siculus ได้บันทึกว่า ถูกชนพื้นเมืองเผ่าอื่นๆ ต่อต้าน แต่ก็สู้ชนเผ่า Nabataean ไม่ได้ จึงต้องยกทรัพย์สินที่ดินและอูฐ 700 ตัวให้เป็นกำนัล การเข้ายึดครองดินแดนแถบนั้น ทำให้อาหรับ Nabataean พบว่าเมือง Petra ตั้งอยู่บนเส้นทางของกองคาราวานอูฐที่เดินทางผ่านจาก Mecca ขึ้นไปจนถึงฝั่งตะวันออกของทะเล Mediteranean และจาก Damacus ไปจดทะเลแดง เพราะกองอูฐคาราวานใช้เส้นทางนี้ขนเครื่องเทศ งาช้าง น้ำหอม ปะการัง กำยาน เกลือ ทอง และทาสไปๆ มาๆ การมีสลัดทะเลทรายมากมายทำให้การเดินทางไม่ปลอดภัย ดังนั้น ชนเผ่า Nabataean จึงเรียกค่าธรรมเนียมทางผ่าน และค่ารักษาความปลอดภัยจากบรรดาพ่อค้า และนักธุรกิจเหล่านั้น ทำให้มีเงินและมีฐานะดีขึ้นมาก จนสามารถสร้างอารยธรรมของตนขึ้นมาได้ในราว พ.ศ. 400

      แต่ในเวลานั้น แผ่นดินตะวันออกกลางกำลังระส่ำระสาย เพราะจักรพรรดิ Alexander มหาราช กำลังจะเปลี่ยนแปลงอารยธรรมอาหรับให้เป็นอารยธรรมกรีก โดยกำหนดให้ดินแดนทุกแห่งที่พระองค์ทรงยึดครองได้เปลี่ยนประเพณี ความเชื่อ การทหาร สถาปัตยกรรม วรรณกรรม ศาสนา และปรัชญาไปรับอารยธรรมกรีกหมด อารยธรรมอาหรับยุคนั้นจึงถูกคุกคามมาก และนี่ก็คือสถานการณ์ที่ชนเผ่า Nabataean ต้องเผชิญ

      การศึกษาประวัติศาสตร์ของชนเผ่านี้ในเวลาต่อมา แสดงให้เห็นว่า ชนเผ่า Nabataean ได้ผสมผสานอารยธรรมของตนกับอารยธรรมตะวันตกอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้ยอมรับอารยธรรมกรีกเข้ามามาก จากการเป็นชนเร่ร่อนในทะเลทรายที่ไม่มีบ้านเรือนเป็นหลักแหล่ง ก็รู้จักสร้างวิหาร สุสานฝังศพ ถนนหนทางตามแบบกรีก แบบโรมัน รู้จักสร้างเสาหินและที่บนยอดเสา มีรูปแกะสลักเป็นหัวช้าง รู้จักแกะสลักรูปปั้นของเทพเจ้า Dushara ที่ชาว Nabataean นับถือว่าทรงประทานฝน และความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ชาวเมือง และรู้จักแกะสลักรูปปั้นของเทพกรีก Nike แห่งโหราศาสตร์ เป็นต้น อารยธรรม Nabataean ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ ชาวเมืองรู้จักทำถ้วยชาม ด้วยเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งเป็นของแปลก เพราะชนเบดูอินที่เร่ร่อนไม่ใช้เครื่องปั้นดินเผา รู้จักทำตะเกียง แต่ตะเกียงที่ขุดพบมีรูปทรงเดียวกันหมด แสดงว่า ในเมืองมีร้านทำตะเกียงเพียงร้านเดียว ที่ทำตะเกียงให้คนทั้งเมืองใช้ การขุดพบแจกันที่ทำด้วยหินอ่อน และมีรูปเสือเกาะที่ขอบแจกัน แสดงว่า เป็นแจกันที่เคยใช้ในสวนของชาว Nabataean ที่มั่งคั่ง และการที่มีขนาดใหญ่แสดงว่า แจกันนี้คงเคยเป็นภาชนะที่ใช้ล้างมือด้วย แต่ประเด็นที่ทำให้นักประวัติศาสตร์หลายคนสนใจมากที่สุดคือ เหตุใด Petra ซึ่งตั้งอยู่ในหุบเขาที่แห้งแล้ง จึงสามารถมีสวนได้ ซึ่งนั่นก็แสดงว่าชาว Nabataean มีวิธีทดน้ำ และมีความรู้ด้านวิศวกรรมชลประทานสูง จึงสามารถทดน้ำจากภูเขามาหล่อเลี้ยงผู้คน 20,000 คนในเมืองได้ การขุดพบท่อลำเลียงน้ำที่ทำด้วยดินเหนียวขนาดกว้าง 7 นิ้ว ซึ่งสามารถลำเลียงน้ำได้นาทีละ 4 แกลลอน จึงยืนยันว่า ชนเผ่า Nabataean เก่งในการขุดหาน้ำจริงสมชื่ออาณาจักร Nabataean ดำรงความเป็นเอกราชมาได้นาน จนกระทั่งปี พ.ศ. 549 ก็ถูกกองทัพโรมันสกัดปิดทางเข้าเมือง และตัดท่อน้ำ ความหิวโหยและความกระหายน้ำทำให้ชาวเมืองต้องยอมตกอยู่ใต้การปกครองของจักรพรรดิโรมันชื่อ Trajan และเมื่อแม่ทัพโรมันสั่งย้ายถนนค้าขายมิให้กองอูฐคาราวานเดินทางผ่าน Petra อีกต่อไป ชาว Nabataean จึงสูญเสียรายได้มหาศาล แต่ก็ยังสามารถดำรงสภาพความเป็นอาณาจักรอยู่ได้อีก 200 ปีต่อมา ได้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ทำให้ระบบการลำเลียงน้ำแตกสลาย ชาวเมืองจึงเดือดร้อนมาก แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์ภัยแล้งอีก ชาวเมืองจึงต้องขอให้นักบวช Barsauma ทำพิธีขอฝน และเมื่อฝนตกชาว Nabataean ก็ได้เลิกนับถือเทพเจ้า Dushara และหันมานับถือคริสต์ศาสนาแทน จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.750 เมื่อจักรพรรดิโรมันเริ่มสลาย ชาว Nabataean ซึ่งตกอยู่ใต้การปกครองของโรมันก็เริ่มลำบาก และเริ่มทิ้งเมือง Petra และเมื่อถึงปี พ.ศ. 1200 Petra ก็ได้กลายเป็นเมืองร้างอย่างสมบูรณ์ ที่ไม่มีใครพูดถึงอีกเลย จนกระทั่งอีก 1,000 ปีต่อมา

      ขณะนี้จนกระทั่งถึงวันที่ 6 กรกฎาคม ปีนี้ที่ American Museum of Natural History ที่New York มีการแสดงนิทรรศการเรื่อง Petra : Lost City of Stone

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×